7 มิถุนายน 2554

การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย

 ในการดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์  โดยทั่วไปแล้วให้ถือว่าผู้โอนเป็นผู้มีเงินได้และต้องเสียภาษีเงินได้  แต่เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้  เป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก    ที่จ่าย  ทั้งนี้  ตามคำสั่งกรมสรรพากร  ที่  .๑๐๐/๒๕๔๓  ลงวันที่ ๒๔พฤศจิกายน  .. ๒๕๔๓             
       ๑.   การโอนโดยทางมรดกซึ่งกรรมสิทธ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ทายาท ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรม          
    ๒.  การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนเองโดยไม่มีค่าตอบแทน  บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม             
   ๓.  การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร  เทศบาล  สุขาภิบาล  หรือเมืองพัทยา  หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ  ทั้งนี้  เฉพาะการโอนในส่วนที่ไม่เกิน  ๒๐๐,๐๐๐ บาท  ตลอดปีภาษีนั้น         
      ๔.  การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะกรณีที่ผู้โอนได้รับค่าตอบแทนเป็นสิทธิในการใช้ทรัพย์สินที่โอนนั้นเพื่อกิจการผลิตสินค้าของตนเอง           
    ๕.  การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์  ทั้งนี้  เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืนและอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน          
     ๖.  กรณีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ต้องตกไปเป็นของบุคคลอื่น  ตามมาตรา ๑๓๖๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  หรือโดยการถูกแย่งการครอบครอง  และมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามมาตรา  ๑๓๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือโดยการสละเจตนาครอบครอง หรือไม่ยึดถืออสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไปซึ่งเป็นเหตุให้การครอบครองสิ้นสุดลงตามมาตรา  ๑๓๗๗  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เจ้าของสิทธิครอบครองเดิมไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้       
           อสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลอื่นได้สิทธิครอบครองไปตามวรรคหนึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร  ผู้ได้สิทธิครอบครองจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ตามปกติ          
       ๗.  กรณีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ต้องตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา  ๑๓๘๒  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้
                 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้เป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามวรรคหนึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๓๙  แห่งประมวลรัษฎากรของผู้ได้กรรมสิทธิ์  ซึ่งจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ตามปกติ          
        ๘.  การแบ่งสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาของแต่ละฝ่ายเท่ากัน  ไม่ถือเป็นการขาย”  ตามมาตรา  ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร  ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้          
       ๙.  การแก้ไขหรือเพิ่มเติมชื่อคู่สมรสในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินสมรส  ไม่ถือเป็นการ  “ขาย”  ตามมาตรา  ๓๙  แห่งประมวลรัษฎากร  ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้        
      ๑๐.  กรณีครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน  เนื้อที่เท่ากัน  แต่ถือโฉนดที่ดินไว้ผิดสับเปลี่ยนกัน  เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินแก้ไขชื่อในโฉนดให้เป็นการถูกต้องแล้วโดยมิได้มีเจตนาแลกเปลี่ยนที่ดินกัน  ไม่ถือเป็นการ  “ขาย”  ตามมาตรา  ๓๙  แห่งประมวลรัษฎากร  ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
         ๑๑กรณีปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าเป็นตัวแทนถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์แทนตัวการ  เมื่อตัวแทนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่ตัวการโดยไม่ได้รับเงินหรือประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทน   การโอนดังกล่าวไม่ถือเป็นการ   “ขาย”  ตามมาตรา  ๓๙  แห่งประมวลรัษฎากร  ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้  



กลุ่มพิจารณาปัญหาข้อหารือและร้องเรียน
ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม  สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่
กุมภาพันธ์
  ๒๕๔๘