2 พฤษภาคม 2554

หลักเกณฑ์การขออนุญาตปลูกสร้าง สะพาน

1. สะพานที่เข้าสู่บ้านเป็นหลัง ๆ สร้างได้กว้างไม่เกิน 4.00 เมตร
2. สะพานเข้าสู่ที่ดินหรือถนนเพื่อประโยชน์ในการสัญจรร่วมกันสร้างได้กว้างไม่เกิน8.00เมตร
3.สะพานเข้าสู่หน้าตึกแถวจะสร้างได้กว้างไม่เกินความกว้างของอาคารด้านที่ติดคูคลองสาธารณะ  ถ้าหากสะพานที่สร้างกว้างเกินกว่า  10.00  เมตร  ต้องทำช่องเปิดขนาด  0.50 x 0.70  เมตร  ทุกระยะ 10.00 เมตร
4. สะพานหน้าอาคารประเภทอื่น ๆ จะกำหนดความกว้างตามความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป
5.การขออนุญาตสร้างสะพานหลายสะพาน   ในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหรือนิติบุคคลเดียวกัน  สะพานแต่ละแห่งต้องมีระยะห่างกันระหว่างศูนย์กลางสะพานไม่น้อยกว่า100.00เมตร
6.คลองที่กว้างไม่เกิน 5.00 เมตร อนุญาตให้สร้างเป็นสะพานท่อ โดยความกว้างและระดับก้นท่อจะกำหนดตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป
7. คลองที่กว้างไม่เกิน   10.00    เมตร  ให้ออกแบบเป็นสะพานช่วงเดียวและให้เสาสะพานอยู่นอก  แนวเขตคลองสาธารณะโดยระดับต่ำสุดของโครงสร้างสะพานจะกำหนดตามความเหมาะสม เป็นราย ๆ  ไป
8. คลองที่กว้างเกินกว่า 10.00 เมตร ให้ออกแบบเป็นสะพานอย่างน้อย 3 ช่วง  โดยให้เสาสะพานตัวริมอยู่นอกแนวเขตคลองสาธารณะ   และสะพานช่วงกลางต้องกว้างไม่น้อยกว่า 8.00  เมตร  โดยระดับต่ำสุดของโครงสร้างสะพานจะกำหนดตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป
9. ต้องสร้างกำแพงกันดินตลอดความกว้างของสะพาน  และให้ยื่นออกจากตัวสะพานทั้งสองข้าง  ความยาวข้างละไม่น้อยกว่า  2.50  เมตร  ทั้งสองฝั่ง  โดยอยู่นอกแนวเขตคลองสาธารณะ   โครงสร้างกำแพงกันดิน   ต้องมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับการขุดลอกคลองได้ ความลึก  ถึงระดับที่กรุงเทพมหานครกำหนด
10. ในกรณีที่ออกแบบเป็นสะพานคู่ กำหนดให้สะพานมีความกว้างไม่เกิน  8.00  เมตร  และมีระยะห่างระหว่างริมสะพานไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร
11. ขณะดำเนินการก่อสร้างต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ
12.ในกรณีที่มีท่อระบายน้ำเดิมไหลลงคลองห้ามมิให้ตอกเสาเขื่อนหรือกำแพงกันดินปิดกั้นขวางทาง ระบายน้ำ  และจะต้องเปิดช่องให้ท่อระบายน้ำไหลผ่านได้สะดวกขนาดเท่ากับท่อระบายน้ำของเดิม
13.เมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องเก็บเศษวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างออกให้หมดพร้อม  ทั้งขุดลอกคลองบริเวณใต้สะพานให้มีความลึกตามที่กรุงเทพมหานครกำหนด
14.การขออนุญาตนี้เป็นการอนุญาตชั่วคราวกรุงเทพมหานครสามารถรื้อถอนหรือปรับปรุงได้เท่าที่มี  ความจำเป็นและต้องเปิดเป็นทางสาธารณะประโยชน์ ห้ามปิดกั้นครอบครองเป็นอันขาด




ที่มา  กทม.2